วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

      ความปลอดภัยในด้านปกป้องข้อมูลเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต
Denial of service คือการโจมตีเครื่องหรือเครือข่ายเพื่อให้เครื่องมีภาระงานหนักจนเกินไป
Scan คือวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องอัติโนมัติหรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ Scanสู่ระบบหรือหาช่องจากการติดตั้งหรือการกำหนดระบบผิดพลาด
Malicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้ดดยจริงๆแล้วอาจเป็นไวรัส ที่จะส่งเข้ามาทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์

    ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์
 เวอร์ม  โปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆโดยที่จะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยุ่บนเครื่อข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายๆกับตัวหนอนที่เจาะหรือซอกซอนไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
 โลจิกบอมบ์หรือม้าโทรจัน โปรแกรมซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการทำงานในลักษณ์ถูกตั้งเวลาเหมือนระเบิดเวลา ซึ่งจะทำการแฝงตัวเองเข้าไปในระบบและจะทำงานโดยดักจับเอารหัสผ่านมาแล้วส่งตัวเองกลับมายังเจ้าของโปรแกรม

        ฟิชชิ่ง
  การหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตอย่างหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการหลอกลวง จะใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมล์ติดต่อไปยังผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตว่ามาจากองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะก่อความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์หรือชื่อเสียง

       ไฟร์วอลล์
   คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน โดยป้องกันผู้บุกรุกที่มาจากเครือข่ายภายนอก หรือ เป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย

   

บทที่ 6 การจัดการสารสนเทศ

     ความหมายการจัดการารสนเทศ
หมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศจัเให้มรระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์ในการจัดการสารสนเทศ

     ความสำคัญของการสารสนเทศ
  ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคลโดยการทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล ในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความก้าวหน้า และมีความสุข  ดังนั้น การจัดการสารสนเทศด้านบุคคลจึงมีหน้าที่อำนวยความสดวกให้แก่บุคคลในการใช้ชีวิตประจำวัน
  ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
ด้านการบริหาร  การบริหารจัดการในยุคไหม่เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข็งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยงข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร เพื่อทำให้การบริหารเป็นไปอย่างถูกต้อง และดีที่สุด
 ด้านกานดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในลักษณะเป็นทั้งการเพิ้มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และ มีหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ
 ด้านกฎหมายการจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชี
   พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ  
  การจัดการสารสนเทศด้วบระบบมือ  การจัดการสารสนเทศเริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในด้านกานบันทึกความรู้ เริ่มแรกการจัดการสารสนเทศอยู่ในรูปของสื้อสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือ ดดยการรวบรวมรายชื่อมาและ เทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรก เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปร่าง สีปกเป็นต้น  โดยเน้น เขียน หรือ ทำด้วยมือ
  การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายมากขึ้น การทำด้วยมือนั้นจึงยากลำบาก จึงมีการพัฒนาขึ้นมาจากทำด้วยมือ มาเป็นด้วยคอมพิวเตอร์



          การรวบรวมข้อมูล   การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก จะต้องมีกรดำเินินการที่รอบคอบและเป็นระบบ ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันตามเวลาที่กำหนด
          การตรวจสอบข้อมูล   เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มา เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถกต้องหรือไม่ และมีความเชื่อถือมากเพียงใด หากพบที่ผิดพลาดก้จะสามารถแก้ไขได้
         การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นารสนเทศ   การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับใช้งาน
   - สรุปผล ข้อมูลที่มีปริมาฯมากๆ อาจมีความจำเป็นต้องสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้การสรุปผลจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้สารสนเทศว่าต้องการแบบไหน
  -การคำนวณ ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ สารสนเทศบางย่างจะต้องมีการคำนวณข้อมุลเหล่านั้นด้วย
  -การค้นหาข้อมูล  บางครั้งในการใช้ข้อมูลจะต้องมีการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเท่านั้น ดังนั้นการประมวลผลจะต้องมีการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลให้สามารถค้นหาข้อมูลได้โดยจะต้องต้นได้ถูกต้อง
          การดูแลรักษาสารสนเทศ   การดูแลสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย การเก็บรักษาข้อมูล เมื่อมีการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบแล้วจะต้องมีการดูแลรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้เพื่อมิให้สูญหาย
         การสื่อสาร  ข้อมูลที่เก็บจะต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ที่ใช้ทำได้รวดเร็วมากขึ้น

         แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
    ขอบเขตของการจัดการสารสนเทศ  เป็นการใช้หลักของการจัดการเพื่อการจัดหา  การจัดโครงสร้างการควบคุม
 
         การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
 ความต้องการที่จะปรับปรุงการจัดการสารสนเทศเป็นที่สนใจในหลายๆองค์กร โดยอาจถูกผลักดันจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ การปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฑหมาย