วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่3 การรู้สารสนเทศ

   ความหมาย : การรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อการเท่าทันในข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และสามารถพัฒนาการรุ้สารสนเทศให้แก่บุคคลในสังคมอย่างสม่ำเสมอ

   ความเป็นมา : ในทศวรรษที่ 21 สามารถจำแนกทักษะการเรียนรู้ได้ 4 ลักษณะ คือ 1. ทักษะสารสนเทศและการสื้อสาร 2. ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 3. ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง 4. การรับผิดชอบต่อสังคมจากทักษะการเรียนรู้
   การรู้สารสนเทศ เกิดขึ้นราวๆต้นคริสตืศักราช 1974 โดยที่การรู้สารสนเทศครอบคลุมความสามารถในการเข้าถึง การกำหนด การประเมินและการใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้แล้ว ยังมีการนำเสนอสารสนเทศในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การรู้สื่อ (Media Literacy) การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) การรู้เชิงทัศนะ (Visual literacy) การรู้เครือค่าย (Network Literacy)

   องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ : 
1. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย ความสามารถทางกายภาพ และสติปัญญาในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนดลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคัดสรร วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความสามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง
3. ความสามารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็ดทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ รวมถึงมารยาทการใช้สารสนเทศ และประสิทธิภาพในการจัดการสารสนเทศที่สืบค้นได้ตรงตามวัตุประสงค์ที่วางไว้

   คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ :
1. ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
2. สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
3. เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
5. นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
6.มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถูประสงค์
7. เข้าใจประเด็ดทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในหารใช้สารสนเทศ
8. เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
9. แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
10. ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรุ้ตลอดชีวิต

   มาตรฐานของผุ้รู้สารสนเทศ : 
มาตรฐานที่ 1. ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2. ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างมีความสามารถ
มาตรฐานที่ 3.ผู้เรียนใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 4.ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
มาตรฐานที่ 5. ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 6. ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้างองค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐานที่ 7. ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรุ้และสังคม เป็นผุ้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8. ผุ้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังตม เป็นผุ้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ

   แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ : 
ขั้นตอนที่ 1. การกำหนด ภาระงาน(Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องใช้ และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2. การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ(Information Seeking Strategies) เป็นการกำหนดแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ และประเมินผลความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับปัญหาที่ได้รับข้างต้น
ขั้นตอนที่ 3. การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ(Location and Access) เป็นการระบุแหล่งที่อยุ่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 4. การใช้สารสนเทศ(Use of Information) เป็นการอ่าน พิจารณาสารสนเทศที่ต้องการและคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 5. ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล(Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ