วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

      ความปลอดภัยในด้านปกป้องข้อมูลเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต
Denial of service คือการโจมตีเครื่องหรือเครือข่ายเพื่อให้เครื่องมีภาระงานหนักจนเกินไป
Scan คือวิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องอัติโนมัติหรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ Scanสู่ระบบหรือหาช่องจากการติดตั้งหรือการกำหนดระบบผิดพลาด
Malicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้ดดยจริงๆแล้วอาจเป็นไวรัส ที่จะส่งเข้ามาทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์

    ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์
 เวอร์ม  โปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆโดยที่จะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยุ่บนเครื่อข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายๆกับตัวหนอนที่เจาะหรือซอกซอนไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
 โลจิกบอมบ์หรือม้าโทรจัน โปรแกรมซึ่งถูกออกแบบมาให้มีการทำงานในลักษณ์ถูกตั้งเวลาเหมือนระเบิดเวลา ซึ่งจะทำการแฝงตัวเองเข้าไปในระบบและจะทำงานโดยดักจับเอารหัสผ่านมาแล้วส่งตัวเองกลับมายังเจ้าของโปรแกรม

        ฟิชชิ่ง
  การหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตอย่างหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการหลอกลวง จะใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมล์ติดต่อไปยังผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตว่ามาจากองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะก่อความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์หรือชื่อเสียง

       ไฟร์วอลล์
   คือ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน โดยป้องกันผู้บุกรุกที่มาจากเครือข่ายภายนอก หรือ เป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย

   

บทที่ 6 การจัดการสารสนเทศ

     ความหมายการจัดการารสนเทศ
หมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศจัเให้มรระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์ในการจัดการสารสนเทศ

     ความสำคัญของการสารสนเทศ
  ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคลโดยการทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล ในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความก้าวหน้า และมีความสุข  ดังนั้น การจัดการสารสนเทศด้านบุคคลจึงมีหน้าที่อำนวยความสดวกให้แก่บุคคลในการใช้ชีวิตประจำวัน
  ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
ด้านการบริหาร  การบริหารจัดการในยุคไหม่เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข็งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยงข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร เพื่อทำให้การบริหารเป็นไปอย่างถูกต้อง และดีที่สุด
 ด้านกานดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในลักษณะเป็นทั้งการเพิ้มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และ มีหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ
 ด้านกฎหมายการจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์กร โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชี
   พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ  
  การจัดการสารสนเทศด้วบระบบมือ  การจัดการสารสนเทศเริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในด้านกานบันทึกความรู้ เริ่มแรกการจัดการสารสนเทศอยู่ในรูปของสื้อสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือ ดดยการรวบรวมรายชื่อมาและ เทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรก เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปร่าง สีปกเป็นต้น  โดยเน้น เขียน หรือ ทำด้วยมือ
  การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายมากขึ้น การทำด้วยมือนั้นจึงยากลำบาก จึงมีการพัฒนาขึ้นมาจากทำด้วยมือ มาเป็นด้วยคอมพิวเตอร์



          การรวบรวมข้อมูล   การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก จะต้องมีกรดำเินินการที่รอบคอบและเป็นระบบ ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันตามเวลาที่กำหนด
          การตรวจสอบข้อมูล   เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มา เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถกต้องหรือไม่ และมีความเชื่อถือมากเพียงใด หากพบที่ผิดพลาดก้จะสามารถแก้ไขได้
         การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นารสนเทศ   การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับใช้งาน
   - สรุปผล ข้อมูลที่มีปริมาฯมากๆ อาจมีความจำเป็นต้องสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้การสรุปผลจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้สารสนเทศว่าต้องการแบบไหน
  -การคำนวณ ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ สารสนเทศบางย่างจะต้องมีการคำนวณข้อมุลเหล่านั้นด้วย
  -การค้นหาข้อมูล  บางครั้งในการใช้ข้อมูลจะต้องมีการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเท่านั้น ดังนั้นการประมวลผลจะต้องมีการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลให้สามารถค้นหาข้อมูลได้โดยจะต้องต้นได้ถูกต้อง
          การดูแลรักษาสารสนเทศ   การดูแลสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย การเก็บรักษาข้อมูล เมื่อมีการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบแล้วจะต้องมีการดูแลรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้เพื่อมิให้สูญหาย
         การสื่อสาร  ข้อมูลที่เก็บจะต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ที่ใช้ทำได้รวดเร็วมากขึ้น

         แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
    ขอบเขตของการจัดการสารสนเทศ  เป็นการใช้หลักของการจัดการเพื่อการจัดหา  การจัดโครงสร้างการควบคุม
 
         การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
 ความต้องการที่จะปรับปรุงการจัดการสารสนเทศเป็นที่สนใจในหลายๆองค์กร โดยอาจถูกผลักดันจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ การปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฑหมาย

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

 องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ระบบอเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพสังเขปของแต่ละเทคโนโลยี


เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์เปรเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และทำตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเรียกว่ากันว่า ซอฟต์แวร์
   -ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย5ส่วน คือ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง
       -อุปกรณ์รับข้อมูล เช่น แผงอักขระ  เมาส์ จอภาพสัมพัส ปากกาแสง
       -อุปกรณ์ส่งข้อมูล เช่น จอภาพ
   -ซอปต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟร์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ  ซอปต์แวร์ระบบ และ ซอปต์แวร์ประยุกต์
       -โปรแกรมระบบปฎิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
       -โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
       -โปรแกรมแปลภาา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั้งที่เป็นภาษาของคอมพิวเตอร์
 

   เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกล ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว . . .
 เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสาและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์ โมเด็ม แฟกซ์ โทรเลข



    วิวัฒนาการขอวเทคโนโลยีสารสนเทศ
 สามารถแบ่งเป็นด้านที่ควบคู่กันมา คือ วิวัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์ และ วิวัฒนาการทางด้านการสื้อสาร ซึ่งะสามารถรวมถึงลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารรายละเอียดของวิวัฒนาการของแต่ละเทคโนโลยี









วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่3 การรู้สารสนเทศ

   ความหมาย : การรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อการเท่าทันในข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และสามารถพัฒนาการรุ้สารสนเทศให้แก่บุคคลในสังคมอย่างสม่ำเสมอ

   ความเป็นมา : ในทศวรรษที่ 21 สามารถจำแนกทักษะการเรียนรู้ได้ 4 ลักษณะ คือ 1. ทักษะสารสนเทศและการสื้อสาร 2. ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา 3. ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง 4. การรับผิดชอบต่อสังคมจากทักษะการเรียนรู้
   การรู้สารสนเทศ เกิดขึ้นราวๆต้นคริสตืศักราช 1974 โดยที่การรู้สารสนเทศครอบคลุมความสามารถในการเข้าถึง การกำหนด การประเมินและการใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้แล้ว ยังมีการนำเสนอสารสนเทศในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การรู้สื่อ (Media Literacy) การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) การรู้เชิงทัศนะ (Visual literacy) การรู้เครือค่าย (Network Literacy)

   องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ : 
1. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย ความสามารถทางกายภาพ และสติปัญญาในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนดลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคัดสรร วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความสามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง
3. ความสามารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็ดทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ รวมถึงมารยาทการใช้สารสนเทศ และประสิทธิภาพในการจัดการสารสนเทศที่สืบค้นได้ตรงตามวัตุประสงค์ที่วางไว้

   คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ :
1. ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
2. สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
3. เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
5. นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
6.มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถูประสงค์
7. เข้าใจประเด็ดทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในหารใช้สารสนเทศ
8. เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
9. แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
10. ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรุ้ตลอดชีวิต

   มาตรฐานของผุ้รู้สารสนเทศ : 
มาตรฐานที่ 1. ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2. ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างมีความสามารถ
มาตรฐานที่ 3.ผู้เรียนใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 4.ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
มาตรฐานที่ 5. ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 6. ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้างองค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐานที่ 7. ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรุ้และสังคม เป็นผุ้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8. ผุ้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังตม เป็นผุ้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ

   แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ : 
ขั้นตอนที่ 1. การกำหนด ภาระงาน(Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องใช้ และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2. การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ(Information Seeking Strategies) เป็นการกำหนดแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ และประเมินผลความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับปัญหาที่ได้รับข้างต้น
ขั้นตอนที่ 3. การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ(Location and Access) เป็นการระบุแหล่งที่อยุ่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 4. การใช้สารสนเทศ(Use of Information) เป็นการอ่าน พิจารณาสารสนเทศที่ต้องการและคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 5. ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล(Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ